ปุ๋ยหมูไม่กลัวน้ำร้อน ปุ๋ยทางใบ สำหรับทุกพืช โปรโมชั่นเดือนนี้ ซื้อ1 แถม 1 โทร 081-911-6655, 02-934-9977

ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช ปกติรากพืชดูดธาตุอาหารจากดินได้ตลอดเวลา ส่วนใบพืชอยู่ในอากาศ จะมีโอกาสดูดธาตุอาหารได้เฉพาะจากสารละลายที่มาสัมผัสใบเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ใบจึงได้รับธาตุอาหารตามธรรมชาติจากน้ำฝนและน้ำค้าง การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชเป็นการช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้มากขึ้นและเร็วขึ้น

ปุ๋ยหมูไม่กลัวน้ำร้อน
ข้อดีและข้อเสียของปุ๋ยทางใบ
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. ช่วยให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากการย้ายปลูกและตั้งตัวได้แล้ว
2. ใช้กับอาการขาดธาตุอาหารในระยะแรกๆได้ดี
3. ใช้ผสมกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค แมลง และควบคุมวัชพืชได้เป็นการประหยัดแรงงาน
4. ใช้กับพืชที่ปลูกในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก
5. ใช้ในการเสริมธาตุหลัก คือ ไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรียและการให้ธาตุรอง และธาตุอาหารเสริมแก่พืช
6. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็ว
7. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็ว หลักจากชะงักเนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
8. ปุ๋ยน้ำ มีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ดทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากกว่า
9. ปุ๋ยน้ำผลิตง่ายและเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง
10. ง่ายต่อการขนส่งและการใช้

ปุ๋ยหมูไม่กลัวน้ำร้อน มีทั้งชนิดน้ำและชนิดผง
ข้อเสียของการใช้ปุ๋ยทางใบ
1. โดยทั่วไปการใช้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะให้ธาตุอาหารแก่พืชได้อย่างเพียงพอในปริมาณที่เท่าเทียมกับปุ๋ยทางดิน เพราะถ้าให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชใบไหม้
2. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียวจะทำได้เฉพาะกับพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงมากเท่านั้น เพราะจะต้องให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ
3. ปุ๋ยน้ำชนิดสารละลายไม่สามารถผลิตให้มีเกรดสูงๆได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารรวมของ(N+P2O5+K2O) ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
4. ปุ๋ยเกล็ดมักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้วก็ตามทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว
5. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยน้ำสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ดเพราะโดยทั่วไปปุ๋ยน้ำจะมีเกรดต่ำกว่าปุ๋ยชนิดแข็ง (ปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด)
6. ราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเกล็ดสูงกว่าราคาต่อหน่วยของธาตุอาหารในปุ๋ยเม็ดมาก เพราะแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการ ผลิตปุ๋ยผสมชนิดเกล็ดมีราคาแพงกว่าแม่ปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเม็ด
7. ปุ๋ยน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของสารประกอบพวกโพลิฟอสเฟตและสารคีเลต
8. ปุ๋ยน้ำโดยทั่วไปจะควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยเกล็ด

อ้างอิง : สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900

ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบเพื่อให้มีประสิทธิภาพเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชคือ
ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมคือเร็วที่สุด แต่หากมีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบอาจจะไม่เกิดผล ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ช่วงเช้า เวลา 06.00-09.00 น. และช่วงเย็น เวลา 06.00-19.00 น.
ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่ตามคำแนะนำ ไม่ควรผสมให้เข้มข้นเกินไป เพราะจะทำให้ใบพืชไหม้ได้
หลักสำคัญของการใช้ปุ๋ยทางใบคือ ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริมปุ๋ย แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋นอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นปุ๋ยหลัก หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีแล้ว มีธาตุอาหารครบ ก็ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น