ปุ๋ยหมูไม่กลัวน้ำร้อน ปุ๋ยทางใบ สำหรับทุกพืช โปรโมชั่นเดือนนี้ ซื้อ1 แถม 1 โทร 081-911-6655, 02-934-9977

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

สัจธรรมของชีวิต

ช่วงชีวิตของคนเราแบ่งคราวๆ เป็น 3 ช่วง
1. ช่วงวัยเด็ก นับตั้งแต่เกิดถึงอายุ 25 ปี
เป็นนวัยที่ต้องศึกษาหาความรู้ เพื่อหาหนทางดำเนินชีวิตในอนาคต


2. ช่วงวันทำงาน คือช่วงอายุ 25-60 ปี
เป็นช่วงที่ต้องนำวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา ไปทำมาหาเลี้ยงชีพ สร้างครอบครัวและสร้างฐานะเพื่อความมั่นคงของชีวิตต่อไปในอาคต



3. ช่วงสุดท้ายคือช่วงผักผ่อน คือหลังอายุ 60 ปี หรือหลังเกษียณ
เป็นช่วงที่ต้องผักผ่อนปลดตัวเองจาการทำงาน เพื่อแสวงหาความสุขความสงบในช่วงเวลาที่เหลืออยู่



ช่วงสุดท้าย คือช่วงที่เราเกษียณแล้ว หลัง ๖๐ ปี น่าจะะเป็นช่วงที่มีความสุขที่สุด เพราะเป็นการปลดภาระ และความรับผิดชอบออก แต่ก็มีคนที่เกษียณจํานวนไม่น้อยเกิดความเหงา เศร้าซึม รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่ได้รับการยอมรับเหมือนอย่างเคย เกิดความเสียดายอำนาจ ความสะดวกสะบายที่ที่เคยได้รับ จนเกิดปัญหาทั้งทางสุขภาพกายและสุขภาพใจ จนกลายเป็นคนขาดความสุขหรืออายุสั้นได้ในที่สุด

ปัญหาที่จะตามมาของผู้เกษียณอายุ คือ
1. ด้านสุขภาพอนามัย
2. ด้านเศรษฐกิจ
3. ด้านสังคมและจิตวิทยา

ด้านสุขภาพอนามัย
 หลายคนช่วงต้นอาจจะรู้สึกดีเพราะไม่ต้องรีบตื่นเช้า แต่พอนานๆ ไป กลับเกิดความรู้สึกตื่นแล้วไม่รู้จะทําอะไร ที่ไหนดีเกิดความเซ็ง เบื่อ และไม่สบายใจ จนมีผลต่อสุขภาพจิต แล้วก็เลยเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ตามมาหรือบางคนรู้สึกว่าตนยังทํางานได่แต่ไม่ได้ทํางานแล้วเกิดความคับข้องใจ หลายๆ คนหน้าที่การงานทําให้ได้ออกไปพบปะสังคมกับผู้คน ครั้นเกษียณต้องอยู่บ้านคนเดียว หรือแม้จะอยู่กับครอบครัว แต่สภาพการเปลี่ยนไป ก็อาจเกิดภาวะ “เฉา” ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน

ด้านเศรษฐกิจ
เรื่องเงินทอง เป็นเรื่องสำคัญมาก หลังเกษียณเงินที่เคยได้มากๆตอนทำงานก็จะลดน้อยลงและค่อยๆหมดไป แต่เรายังต้องใช้เงินในการดำรงชีวิตอยู่  คนที่มีเงินมากเหลือเฟืออาจจะไม่ต้องคิดอะไรมาก  แต่คนที่มีเงินพอสมควรแต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถใช้ได้ตลอด ชีวิตอย่างสะดวกสบาย จึงต้องรู้จักการบริหารเงิน

ด้านสังคมและจิตวิทยา
เมื่อเราเกษียณอายุแล้ว ภาพลักษณ์ของคนเราย่อมเปลี่ยนแปลงไป หลายคนอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไร้ประโยชน์เกิดความสูญเสีย เพราะไม่มีตําแหน่งหน้าที่ ไม่มีคนนับหน้าถือตาเช่นที่เคยมา ผู้คนที่เคยห้อมล้อมหายไป คนที่เคยมาประจบก็เลิกประจบ ไม่เกรงอกเกรงใจเราอีกต่อไป เพราะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เขาได้แล้ว เช่นนี้ หากเราไม่เตรียมใจไว้ให้พร้อม ปัญหาข้อนี้ก็จะทําร้ายจิตใจเราได้ทันทีที่เกษียณ

การเกษียณนั้นไม่ควรจะเป็นการเลิกทำงานทุกอย่าง  การเกษียณคือการเลิกจากการทำงานที่เราทำเพื่อเงินเป็นหลัก   หลัง  “เกษียณ”  เราควรจะทำงานต่อไป  แต่งานที่ทำนั้นควรเป็นงานที่เราชอบและมีประโยชน์ต่อตัวเราหรือต่อสังคมโดยส่วนรวม  อาจจะเป็นงานอดิเรกหรืองานเสริม ทำงานแล้วได้เงินด้วยก็เป็นสิ่งที่ดี  เพราะเงินนั้น  อย่างน้อยมันเป็นเครื่องวัดว่างานที่เราทำ  “มีค่า”  ในสายตาของคนในสังคม  การทำงานแล้วได้เงินนั้นมันจะทำให้งานไม่น่าเบื่อหรือไม่มีจุดหมาย แต่ถ้าจะให้ดี งานหลังเกษียณ ไม่ควรเป็นงานที่หนักเท่ากับงานประจำเดิม  แต่ควรเป็นงานที่มีค่าและมีประโยชน์ทำแล้วมีความสุข  ส่วนเงินนั้นเป็นผลพลอยได้ที่พึงปราถนา  ยิ่งมากก็ยิ่งดี และควรแบ่งเวลาไปทำงานเพื่อสังคม แบ่งปันประสบการณืให้คนอื่นจะทำให้เรารู้สึกว่าเรายังพอมีค่า จะได้ไม่เหงา ลองมองหาดูว่าอะไรที่เราพอทำได้แล้วไม่รู้สึกหนักแต่เพลิดเพลินและได้สังคมด้วย

หากใครพอมีที่ดินอยู่บ้าง ลองหันมาทำการเกษตรดุไหมค่ะ ทำเป็นงานอดิเรกหรือเป้นอาชีพเล็กๆก็ได้ ได้ทั้งสุขภาพร่างการและจิตใจ ได้อยู่กับธรรมชาติ หากผลผลิตเหลือเราก็แบ่งปัน เพื่อนๆ หรือจะขายเป็นรายได้เพิ่มก็ดีค่ะ